สาระน่า่รู้ เกี่ยวกับบ้าน รับสร้างบ้าน แบบบ้านสองชั้น  
   
   
   
   
 
 
 
 
 
 
   
 
 
 
สหสุธากับแนวคิดบ้านประหยัดพลังงาน
SAHASUTHA : รับสร้างบ้าน, แบบบ้านสองชั้น
 
 
     ท่ามกลางกระแส "Green" ที่สร้างความตื่นตัวให้กับสังคมโลก จนกลายเป็นกระแสหลักที่ทุกภาค
ส่วนของสังคมจะต้องร่วมกันรับผิดชอบ โดยเฉพาะปัญหา "โลกร้อน" ที่เพิ่มปริมาณความร้อนมากขึ้น
จากกิจกรรมของผู้คนในเมืองใหญ่ที่มีการเผาผลาญพลังงานจำนวนมาก แนวคิดสมัยใหม่จึงมุ่งเน้นการ
อยู่อาศัยและการใช้ชีวิตที่สร้างผลกระทบให้กับธรรมชาติน้อยที่สุด
 
 
 
      พัลลภ จันทรดิลกรัตน์ วิศวกรประจำบริษัท สหสุธา จำกัด
เปิดเผยแนวในการรับสร้างบ้านประหยัดพลังงานว่า บริษัทฯได้
ทำการศึกษาแนวคิดและวิธีการก่อสร้างบ้านประหยัดพลังงาน
มาตั้งแต่ต้นปี 2550 และเริ่มให้บริการรับสร้้างบ้านประหยัด
พลังงาน ตั้งแต่ปลายปี 2552 ปัจจุบันมีลูกค้าให้ความสนใจ
สร้างบ้านประหยัดพลังงานไปแล้ว 3 หลัง

      "จุดเด่นของสหสุธา คือการเป็นผู้เชี่ยวชาญการใช้วัสดุทด
แทนและวัสดุประหยัดพลัีงงาน จนสามารถคำนวณค่าใช้จ่ายให้
กับเจ้าของบ้่านได้ว่า เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมวัสดุ
บางอย่าง จะทำให้ประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าไปได้เท่าไร ซึ่ง
ส่วนใหญ่จะพบว่าในเวลาเพียงไม่กี่ปี ค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน
ไฟฟ้าที่ลดลงคุ้มค่ามากกว่า ค่าก่อสร้างที่มีการเพิ่มเติม"

      คุณพัลลภเปิดเผยเพิ่มเติมถึงความยากในการสร้างบ้าน
ประหยัดพลังงานว่า สิ่งที่ยากที่สุด คือความเข้าใจและการมี
ข้อมูลด้านวัสดุก่อสร้างที่ไม่เพียงพอสำหรับการตัดสินใจ ยก
ตัวอย่างเช่น ผนังบ้านที่ก่อด้วยอิฐมวลเบา มักจะมีความเชื่อว่า
ไม่แข็งแรง และไม่สามารถรับน้ำหนักได้ ทั้งที่เป็นวัสดุที่
สามารถลดการถ่ายเทความร้อนสะสมจากผนังในเวลากลางวัน
เข้าสู่ตัวบ้านในเวลากลางคืน และในวัสดุรุ่นใหม่ ๆ สามารถรับ
น้ำหนักได้โดยทั่วไป 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ซึ่งสามารถ
แขวนเครื่องปรับอากาศ หรือจอโทรทัศน์ใหญ่ได้
 
 
      "สิ่งที่ยากที่สุดคือการสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับผู้อยู่อาศัย
เพื่อให้ตระหนักถึงปัญหาที่ต้องเผชิญหากเรายังมีพฤติกรรม
การใช้พลังงานอย่างที่ปฏิบัติกันมาอย่างช้านาน และในถัดมา
จึงเป็นเรื่องของการออกแบบบ้านที่ต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่
มีความสำคัญ และต้องเข้าใจถึงสาเหตุและเหตุผลของการ
เลือกใช้หรือไม่เลือกใช้แนวทาง ระบบหรือวัสดุบางอย่างที่
เป็นสาเหตุของการสิ้นเปลืองหรือเป็นส่วนช่วยในการประหยัด
พลังงาน"

      แนวคิดในการรับสร้างบ้านของสหสุธานั้น คุณพัลลภเปิด
เผยว่า จะเน้นการก่อสร้างและการคัดเลือกวัสดุ ให้มี
คุณสมบัติตรงตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน รวมถึงสามารถ
ป้องกันการสูญเสียพลังงานในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างแท้จริง
โดยเริ่มจากการจัดวางตำแหน่งพื้นที่ใช้สอยให้เหมาะสมกับ
ขนาดที่ดินของบ้าน เลือกการใช้วัสดุปูผิวดินที่มีค่าดูดซับ
ความร้อนต่ำ โดยใช้ประโยชน์จากต้นไม้ พืชคลุมดิน หลีก
เลี่ยงการใช้พื้นคอนกรีต

      บล็อคปูถนนสีเข้ม การวางแนวอาคารในทิศเหนือ-ใต้
เพื่อให้พื้นที่รับแดดอยู่บ้านแคบและมีส่วนที่รับลมสามารถ
เข้า-ออก กระจายได้ทั่วอาคาร มีการถ่ายเทอากาศได้โดยไม่
มีจุดอับลม มีเครื่องกีดขวางน้อยเพื่อให้ลมพัดผ่านได้โดยง่าย
เนื่องจากประเทศไทย จะมีลมตลอดทั้งปี จึงควรออกแบบ
บ้านให้สามารถใช้ประโยชน์จากลมที่พัดมาได้ในทุกทิศทาง
การใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติ โดยมีช่องเปิดให้แสง
สามารถเข้ามาได้จากทางทิศเหนือ และหลีกเลี่ยงการรับรังสี
โดยตรงจากดวงอาทิตย์ เช่น มีส่วนยื่นของอาคารแผงบังแดด
ต้นไ้ม้รอบบริเวณบ้าน
 
 
     นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงการป้องกันผลเสียและการเลือกใช้ข้อดีของอากาศร้อนชื้นในประเทศไทย เช่น การเลือกใช้วัสดุที่ไม่ดูดความชื้น สามารถใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติ ฉนวนป้องกันความร้อน ระบบควบคุมที่ไม่ต้องซ่อมบำรุงบ่อยครั้ง โดยเฉพาะการออกแบบและควบคุมระบบปรับอากาศ ไม่ให้อากาศภายนอกรั่วซึมเข้ามาภายในอาคารได้โดยง่าย เพราะจำทำให้สูญเสียพลังงานในการปรับอากาศเพิ่มขึ้น

      ใช้ประตู หน้าต่าง จำพวก uPVC และใช้วัสดุประเภทฉนวนกันความร้อนที่กรอบผนังบ้าน เพื่อลดการถ่ายเทความร้อนสะสมจากผนังในเวลากลางวันเข้าสู่ตัวบ้านในเวลากลางคืน โดยให้มีค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนรวมต่ำ (ค่า U ต่ำ) เช่น การใช้อิฐมวลเบาแทนการใช้ัอิฐมอญ หรือมีฉนวนกันความร้อนกั้นที่ภายนอกบ้านเพิ่มเติม การใช้ฉนวนกันความร้อนเหนือฝ้าเพดานในห้องที่ติดกับหลังคา เพื่อลดการถ่ายเทความร้อนจากใต้หลังคาเข้าสู่ห้องที่ใช้เครื่องปรับอากาศ การใช้กระจกที่มีความสามารถในการนำแสงธรรมชาติเข้าสู่อาคารได้มาก แต่ยอมให้ความร้อนเข้ามาได้น้อย เช่น กระจกเขียวตัดแสง กระจก Low-E การเลือกใช้เครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง (ค่า EER > 11.0 เทียบเท่าฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5)

      ในตอนท้ายคุณพัลลภเปิดเผยว่า ในอนาคตสหสุธาวางแผนที่จะทำบ้านประหยัดพลังงานในรูปแบบที่มากขึ้น อาทิเช่น

      1. การทำหลังคาสีเขียว เพื่อลดอุณหภูมิหลังคา อีกทั้งปรับทัศนียภาพให้สวยงามยิ่งขึ้น

      2. เพิ่มการ recycle น้ำกลับมาใช้ใหม่ (เช่นน้ำจากอ่างอาบน้ำ ส่วนอาบน้ำ อ่างล้างหน้า) โดยน้ำไปใช้ในโถชักโครก ฟลัชปัสสาวะ ล้างรถ รดน้ำต้นไม้

      3.การนำเทคโนโลยีเครื่องทำน้ำร้อนจากความร้อนของแอร์มาใช้ลดการใช้ไฟฟ้าในการทำความร้อนซึ่งใช้เวลาคืนทุนเพียง 1-2 ปี

      "จุดมุ่งหมายของเราอยากทำให้บ้านพักอาศัยของท่าน ให้มีความสามารถในการประหยัดพลังงานโดยที่คุณภาพชีวิตไม่ด้อยลงไปกว่าเดิม ถึงแม้ว่าอาจจะต้องมีการลงทุนในการเลือกวัสดุที่มีคุณภาพบ้าง แต่ก็เพื่อให้ได้บ้านที่มีคุณภาพในแง่ของการประหยัดพลังงาน ประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้พักอาศัย ซึ่งในระยะยาวคุ้มทุนกว่าการสร้างบ้านอยู่อาศัยแบบทั่วไป"
 
 
1. มุงฟอยล์สะท้อนความร้อนบริเวณภายในบ้าน โดยการใช้ฟอยล์
สะท้อนความร้อนใต้หลังคานั้นช่วยสะท้อนความร้อนไม่ให้เข้าไปสู่ใต้
หลังคาได้มากถึง 90% และเน้นให้ลูกค้าใช้หลังคาที่มีสีโทนสว่าง
   
 
2. มุงฟอยล์สะท้อนความร้อนบริเวณภายนอกบ้าน อีกทั้งยังมีช่อง
ระบายอากาศใต้หลังคา ให้มีการถ่ายเทความร้อนภายใต้หลังคาได้
โดยง่าย และจะมีการทำฝ้าระแนงภายนอกในภายหลัง เพื่อให้มีช่อง
ว่างให้ลมพัดเข้าแล้วนำความร้อนออกไปอีกทางได้โดยง่าย
   
 
3. ก่ออิฐมวลเบาชั้นที่ 1 โดยรอบบ้าน ด้วยวิธีการนี้ช่วยลด
ภาระการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ ซึ่งเป็น
สาเหตุหลักของค่าไฟฟ้าได้มากถึง 40% หรือประหยัดได้
ถึง 5,850 บาท ระยะเวลาคุ้มทุน (130 x 100)/5,850 =
2.22 ปี (โดยคิดจากการคำนวณเฉพาะการเปลี่ยนอิฐมอญ
10 cm เป็นอิฐมวลเบา 10 cm เฉพาะกรอบผนังรอบบ้าน)
รวมถึงมีการทำระแนงไม้ตีเว้นร่อง 1 cm หลังจากมุงฟอยล์
สะท้อนความร้อนเสร็จ
 
 
4. ก่ออิฐมวลเบาชั้นที่2 โดยบุโฟมไว้ภายใน ทำให้ผนังมีค่าส่ง
ผ่านความร้อนต่ำ ยังผลให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันความ
ร้อนมากขึ้นถึง 60% หรือประหยัดได้ถึง 8,600 บาท ระยะเวลา
คุ้มทุน (430x100)/8,600 = 5 ปี (โดยคิดจากการคำนวณ
เฉพาะการเปลี่ยนอิฐมอญ 10 cm เป็นอิฐมวลเบา 20 cm บุโฟม
กั้นกลางเฉพาะกรอบผนังรอบบ้าน)

5. กรุโครงไม้ก่อนบุโฟมที่ผนังภายนอก เพื่อนที่จะสามารถใช้
ยึดวัสดุปิดผิวได้ง่ายขึ้น
 
 
7. หลังจากกรุผิวไม้เทียมและทาสีแล้วบางส่วน โดยเน้นให้ลูกค้า
เลือกสีที่มีโทนสว่าง เพื่อสะท้อนความร้อนออกจาพื้นผิวผนังให้มาก
ที่สุด ลดการสะสมความร้อนภายในผนัง

8. ทาสีจริงครบแล้ว 2 เที่ยว เพื่อให้เม็ดสีสามารถคลุมพื้นผิวของ
ผนังได้อย่างทั่วถึง เพื่อไม่ให้ความร้อนสะสมในผนังมากอีกทั้งยัง
ลดปัญหาการซึมน้ำเข้าสู่ผนังได้อีกทางหนึ่ง

9. ใช้กระจกสีเขียวใส หนา 5 มิลลิเมตร เพื่อลดความร้อนจากแสง
อาทิตย์ให้ผ่านเข้ามาภายในบ้านได้น้อยที่สุด ซึ่งมีคุณสมบัติให้แสง
สว่างผ่านได้มาก และยอมให้ความร้อนผ่านได้น้อย ซึ่งดีกว่ากระจก
ใส หนา 5 มิลลิเมตร ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากถึง 2,100 บาท
ระยะเวลาคุ้มทุน (55x30)/1,200 = 0.79 ปี (โดยคิดจากการคำนวณ
เฉพาะการเปลี่ยนกระจกใสเป็นกระจกสีเขียวใส เฉพาะกรอบผนัง
รอบบ้าน)
 
6. บุโฟมที่ผนังภายนอกบางส่วน แล้วกรุผิวไม้
เที่ยมปิดทับอีกชั้น เพื่อเพื่อความเป็นฉนวนให้
กับผนังภายนอก โดยเพิ่มประสิทธิภาพในการ
ลดความร้อนได้ดียิ่งขึ้น
 
 
      สาเหตุหลักของการใช้พลังงานภายในที่พักอาศัยแบ่งออก
เป็นหลัก ๆ ได้ 3 อย่าง
      1. เครื่องปรับอากาศ 50-60%
      2. แสงสว่าง 20-30%
      3. อื่นๆ 10-20%
      จึงเป็นผลให้การออกแบบบ้านประหยัดพลังงาน เน้นไปใน
ด้านของการทำให้ลดการใช้พลังงานในด้านของเครื่องปรับ
อากาศเสียส่วนใหญ่ โดยสามารถทำได้ดังนี้
      1. การออกแบบหลังคาให้มีช่องระบายอากาศใต้หลังคาให้
มีการถ่ายเทคความร้อนภายใต้หลังคาได้โดยง่าย และมีการทำ
ฝ้าระแนงภายนอกให้มีช่องว่างให้ลมพัดเข้าออกได้โดยง่าย
      2. การใช้ฟอยล์สะท้อนความร้อนและฉนวนกันความร้อนใต้
หลังคา เพื่อสะท้อนความร้อนไม่ให้เข้าไปสู่ใต้หลังคา และหน่วง
เวลาการส่งผ่านความร้อนเข้าสู่ใต้หลังคา และเน้นให้ลูกค้าใช้
หลังคาที่มีสีโทนสว่าง
      3. การใช้ฉนวนกันความร้อนเหนือฝ้าเพดานในห้องที่ติดกับ
หลังคา เพื่อลดการถ่ายเทความร้อนจากใต้หลังคาเข้าสู่ส่วนพัก
อาศัยภายในบ้าน
      4. การใช้ผนังที่มีค่่าส่งผ่านความร้อนต่ำ เช่น การใช้อิฐมวล
เบา 2 ชั้น และมีการบุโฟมหนา 1 นิ้ว เพื่อเป็นฉนวนคั่นกลางอีก
ทีหนึ่ง
 
      5. การใช้สีที่มีความสามารถในการสะท้อนความร้อนที่
มากขึ้น จำพวกชิลิกาสโค้ทติ้ง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการ
ป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน อักทั้งยังใช้สีภายนอกที่มี
ความสว่างอีกด้วยและการใช้สีภายในตามวัตถุประสงค์ของ
ห้อง เช่น ห้องรับแขกใช้สีสว่าง เพื่อลดการใช้ไฟฟ้าสำหรับ
แสงสว่าง เพราะสีสว่างนั้นมีความสามารถในการสะท้อน
แสงให้เกิดความสว่างภายในห้องได้อยู่แล้ว
      ในห้องนอน ใช้สีโทนเย็นเกือบเข้ม ไม่สว่างมากนัก
เพราะสีที่สว่างมากไป จะส่งผลให้เกิดการสะท้อนแสงมาก
ขึ้่น และทำให้เกิดการสะสมความร้อน ซึ่งอาจเป็นเหตุให้
เกิดภาระแก่เครื่องปรับอากาศในการทำความเย็นมากขึ้น
      6. การใช้กระจกเขียวใส หรือที่เรามักจะเรียกกันว่า
กระจกเขียวตัดแสง (Tinted Glass), กระจกฉนวน
(Insulate Glass), กระจกกันความร้อนแบบการแผ่รังสี
ความร้อนต่ำที่เรามักเคยได้ยินว่า กระจก Low-E (Low-
emissivity) ที่มีความสามารถในการให้แสงธรรมชาติเข้าสู่
ภายในอาคารได้มาก แต่ยอมให้ความร้อนเข้าได้น้อย เพื่อ
ที่จะสามารถนำแสงธรรมชาติมาใช้ได้มากขึ้น
      7. มีการออกแบบกันสาด พื้นที่ระเบียง เพื่อบังแสงให้
กับช่องที่รับแสง ประตู หน้าต่าง เพื่อลดการรับรังสีโดยตรง
จากแสงอาทิตย์
 
 
 
 
      8. ลดการใช้วัสดุที่มีสารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile
Organic Compound : VOC) น้อย ใช้สีที่ไม่มีผลกระทบกับ
สิ่งแวดล้อมและสุขภาพของผู้อยู่อาศัย ซึ่งมักจะอยู่ในสีทา
บ้าน อุปกรณ์ตกแต่งบ้านต่างๆ ซึ่งก่อนซื้อผลิตภัณฑ์นั้น
ควรสอบถามหรือขอข้อมูลจากผู้ขายก่อนซื้อ

      9. มีการใช้สุขภัณฑ์ประหยัดน้ำ ไม่ว่าจะเป็นชักโครก
3/6 ลิตร หรือ 3/4.5 ลิตร การใช้ก๊อกประหยัดน้ำ การใช้ฝัก
บัวประหยัดน้ำ หรือแม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่น การใช้ข้อ
ต่อ 45 องศา เพื่อลดแรงดันน้ำ ซึ่งช่วยลดจำนวนครั้งในการ
บำรุงรักษา ในกรณีที่ท่ออุดตันบ่อยครั้ง หรือการใช้วาล์ว
ควบคุมทุกสุึขภัณฑ์ เพื่อที่เวลาเกิดการรั่วซึมของอุปกรณ์
แล้วสามารถปิดการใช้งานได้ แล้วจึงซ่อมแซมเฉพาะตัว
อุปกรณ์ทีหลัง

      10. มีการใช้ Photo Cell (Photovoltaic Cell) เป็น
อุปกรณ์วัดแสงเพื่อมาประยุกต์ใช้ควบคุมการปิด-เปิดไฟ
หน้าบ้านและไฟหลังบ้านอัตโนมัติ

      11. ลดการใช้วัสดุไม้จริงและใช้วัสดุทดแทนมากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นประตู พื้นลามิเนต เรือนระแนงไม้เทียม ฝ้า
ระแนงไม้เทียม พื้นไม้เทียม บัวเชิงผนัง

      12. มีการออกแบบเผื่อไว้สำหรับรางรับน้ำฝน เพื่อ
สำรองน้ำฝนไว้สำหรับรดน้ำต้นไม้ ล้างรถ

      13. รอบรับการให้บริการออกแบบบ้านที่ต้องการ
recycle น้ำกลับมาใช้ใหม่ โดยปกติทางบริษัทแยกท่อน้ำ
เสีย กับท่อน้ำทิ้งอยู่แล้ว เราสามารถนำน้ำจากท่อน้ำทิ้งมา
recycle ใช้ควบคู่กับน้ำฝน เพื่อใช้สำหรับรดน้ำต้นไม้ได้

      14. มีการออกแบบให้มีช่องทางผ่านสำหรับลม
ธรรมชาติให้มากที่สุด เพื่อเพิ่มความสามารถในการไหล
เวียนของอากาศ เพื่อให้อุณหภูมิภายในบ้านอยู่ในสภาวะ
เย็นสบาย

      15. การออกแบบครัวไทยให้อยู่นอกบ้าน เพื่อลดความ
ร้อนที่สะสมในอาคาร เป็นภาระให้กับเครื่องปรับอากาศ

      16. มีการออกแบบบ้านในหลายๆ รูปทรง เพื่อให้เหมาะ
กับลูกค้าที่มีที่ดินหลากหลาย เพื่อที่ว่าการวางตัวแนวอาคาร
ให้อยู่ด้านเหนือ-ใต้ มากกว่าแนวออก-ตก เพื่อลดการรับ
แสงในส่วนของกรอบผนังอาคาร

      17. ลดการใช้บานเกล็ด ในหน้าต่างบ้าน เพื่อที่ว่าจะมี
การรั่วไหลของอากาศเย็นออกสู่ภายนอก หรือลดการนำ
เข้าของอากาศร้อนเข้าสู่ภายใน การใช้ประตู หน้าต่าง ที่
เป็นบานอะลูมิเนียมที่มียางกันอากาศรั่ว หรือการใช้
ผลิตภัณฑ์จำพวก uPVC มากขึ้นด้วย ซึ่งจะช่วยลดการรั่วซึม
ของอากาศได้มากขึ้น

      18. ออกแบบตรงกันสาดสำหรับวางคอมเพรสเซอร์ ให้
มีที่บังแดดให้ด้วยในบางแบบบ้านและมีที่วางคอมแอร์
หลายที่ เพื่อไม่ให้รับแสงอาทิตย์โดยตรง
 
ความคุ้มค่าของบ้านประหยัดพลังงาน

      พื้นที่ใช้สอย 380 ตารางเมตร ส่วนพื้นที่ใช้เครื่องปรับอากาศ 130
ตารางเมตร ( เฉพาะห้องนอนชั้น 2 ) ราคาค่าก่อสร้างโดยประมาณ
5,300,000 บาท
 
  วัสดุก่อสร้างทั่วไป วัสดุก่อสร้างบ้านหลังนี้
วัสดุก่อผนัง ผนังก่ออิฐมอญหนา 10 ซม. ผนังก่ออิฐมวลเบาหนา 10 ซม. ในฝั่งทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศใต้ ส่วนฝั่งทิศตะวันตก ใช้ผนังก่ออิฐมวลเบา 20 ซม. บุโฟมหนา 1 ซม. ระหว่างชั้นอิฐ
ประตู-หน้าต่าง กระจกใส (ไม่มีสี) หนา 5 มม. กระจกใสสีเขียว หนา 5 มม.
วัสดุหลังคา ไม่มีแ่ผ่นฟอยล์ สะท้อนความร้อน มุงใต้กระเบื้องหลังคา แผ่นฟอยล์ สะท้อนความร้อน มุงใต้กระเบื้องหลังคา
วัสดุฝ้าเพดาน ยิบซั่มบอร์ด หนา 9 มม. ยิบซั่มบอร์ด หนา 9 มม.
 
      พื้นที่ก่อผนัง = 75 ตร.ม. รวมระหว่างทิศเหนือ ทิศตะวันออก และ
ทิศใต้ และอีก 25 ตร.ม. ในทิศตะวันตก

      พื้นที่กระจก = 30 ตร.ม.*
      พื้นที่หลังคา = 330 ตร.ม.**
      พื้นที่ใช้สอยทั้งหมด = 380 ตร.ม.

      จากการคำนวณพบว่า แบบบ้านที่ได้ปรับเปลี่ยนวัสดุให้ประหยัด
พลังงานแล้วนั้น สามารถประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าได้มากถึง 60% เืมื่อ
เทียบกับบ้านที่มีวัสดุก่อสร้างทั่วไป ถึง 12,500 บาท/ปี (คิดที่อัตราค่า
ไฟฟ้า 3 บาท และคำนวณจากชั่วโมงการใช้เครื่องปรับอากาศที่ 8
ชั่วโมง/วัน

      ค่าลงทุนวัสดุผนังเพิ่มจากวัสดุก่อสร้างทั่วไป = 130 บาท/ตร.ม.
สำหรับผนังอิฐมวลเบาหนา 10 ซม. และ 430 บาท/ตร.ม. ผนังอิฐมวล
เบาหนา 20 ซม. และบุโฟมหนา 1 ซม. ระหว่างชั้่นอิฐ

      ค่าลงทุนวัสดุกระจกเพิ่มจากวัสดุก่อสร้างทั่วไป = 55 บาท/ตร.ม.

      ค่าลงทุนวัสดุสะท้อนความาร้อนบริเวณหลังคา = 60 บาท/ตร.ม.

      คิดเป็นเงินลงทุนทั้งหมด (130x75)+(430x25)+(55x30)+
(60x330) = 41,950 บาท

      ระยะเวลาคุ้มทุนอยู่ที่ 41,950 บาท / 12,550 บาท/ปี = 3.34 ปี

      *คิดเฉพาะกรอบผนังภายนอกอาคาร และห้องที่ใช้เครื่องปรับอากาศเท่านั้น
      **คิดพื้นที่หลังคาตามแนวระนาบหลังคา


      โดยที่ถ้าบ้านหลังนี้เพิ่มฉนวนกันความร้อนหนา 3" บริเวณเหนือฝ้า
เพดานในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ จะสามารถลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้ารวมทั้ง
หมดได้ถึง 15,380 บาท/ปี (คิดที่อัตราไฟฟ้า 3 บาท และคำนวณจาก
ชั่วโมงการใช้เครื่องปรับอากาศที่ 8 ชม./วัน
          พื้นที่ฝ้าเพดาน = 133 ตร.ม.***

          ค่าลงทุนวัสดุฉนวนกันความร้อนหนา 3" = 105 บาท/ตร.ม.
          คิดเป็นเงินลงทุน 41,950+(105x133) = 55,915 บาท
          ระยะเวลาคุ้มทุนอยูที่ 55,915 บาท / 15,380 บาท/ปี = 3.64 ปี

**คิดพื้นที่ฝ้าเพดานเฉพาะห้องที่ใช้เครื่องปรับอากาศเท่านั้น
 
 
 
    ที่มา : ข้อมูลจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานและราคาวัสดุก่อสร้างบางส่วนจาก Supplier ของบริษัทฯ



รับสร้างบ้าน แบบบ้านสองชั้น
โทร 0-2542-2955-6, 0-2542-2691-2, 0-2542-2244
E-mail. info@sahasutha.com
สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน   บ.อะไลฟ์เฮ้าส์ จำกัด  STBUILDER
Copyright ? 2004 SAHASUTHA CO.,LTD. All right reserved.
WEB SITE by  www.eTradeForce.com

บริษัท สหสุธา เรารับสร้างบ้านใส่ใจทุกรายละเอียด

รับสร้างบ้าน | แบบบ้านสองชั้น