สาระน่า่รู้ เกี่ยวกับบ้าน รับสร้างบ้าน แบบบ้านสองชั้น  
   
   
   
   
 
 
 
 
 
 
   
 
 
 
การพิจารณาเลือกแบบบ้าน ให้เหมาะสมกับที่ดิน
SAHASUTHA : รับสร้างบ้าน, แบบบ้านสองชั้น
การสร้างบ้านบนที่่ดินของตนเองนั้น สามารถเลือกการวางตำแหน่งบ้าน และสามารถกำหนดทิศทาง ระยะของการวางบ้านได้ก่อนที่จะมีการสร้างบ้านจริง

    ซึ่งในขั้นต้นสถาปนิกที่ประจำอยู่ในบริษัทรับสร้างบ้านที่ท่าน พิจารณาเลือกแบบบ้านนั้น ก็ต้องเป็นผู้ให้คำแนะนำในการเลือกแบบบ้าน การวางตำแหน่งบ้าน ให้เหมาะสม กับที่ดินของท่านก่อน โดยท่านต้องเป็นผู้พิจารณาประกอบกับความต้องการเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้สอยอาคารของท่าน เพื่อให้ท่านได้บ้านที่มีความสวยงาม มีประโยชน์ใช้สอยที่ดี และ อยู่สบาย ซึ่งปัจจัยในการพิจารณา เบื้องต้นในการเลือกแบบบ้านให้เหมาะสมกับที่ดินนั้นมีดังนี้

1.พิจารณาเรื่องลักษณะของที่ดินให้เหมาะสมกับที่ดิน

      ในกรณีที่ดินของท่านมีขนาดกว้างขวาง หรือใหญ่โต ในการเลือก แบบบ้านคงจะไม่มีข้อจำกัดมากนัก แต่หากว่าท่านมีที่ี่ดินขนาดจำกัด การเลือกรูปทรงแบบบ้านให้เหมาะสมกับรูปที่ดิน ก็เป็นเองที่สำคัญ อย่างยิ่งเพราะว่าถ้าหากรูปทรงที่ดีของคุณเป็นรูปทรงแนวลึกแต่เลือก แบบบ้านแนวกว้าง ก็อาจจะไม่เหมาะสมนัก หรือหากมีที่ดินแนวกว้าง แต่เลือกแบบบ้านแนวลึก ก็อาจจะไม่เหมาะสม เช่นกัน ดังนั้นในการ เลือกแบบคงจะต้องเลือกรูปทรงแบบบ้านให้เหมาะกับลักษณะของ ที่ดินเป็นหลัก แต่ทั้งนี้ต้องประกอบการพิจารณาในเรื่องของ พฤติกรรม การใช้สอยของท่านด้วย เช่น ต้องการมีสวนหน้าบ้าน หรือสวนหลังบ้านซึ่งในประเด็นนี้คงต้องพิจาณาประกอบกับสภาพ แวดล้อมโดยรอบของบ้านด้วย ซึ่งจะได้ให้รายละเอียดในหัวข้อถัดไป

2. พิจารณาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมโดยรอบที่ดิน

      การพิจารณาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมโดยรอบที่ดินนั้น เป็นตัว กำหนดว่า ฟังก์ชันการใช้สอยส่วนใดควรอยู่ตรงไหน และฟังชั่นการใช้สอยใดไม่ควรอยู่ตรงไหน เนื่องจากบางพื้นที่ของบ้าน เช่น ห้องนอน ห้องทำงาน และห้องพักผ่อนเราต้องการความเป็นส่วนตัว และ เงียบสงบ ดังนั้นพื้นที่ดังกล่าวก็ควรอยู่ในด้านที่ไม่มีเสียงดัง และ ไม่ใช่ด้าน ที่มีผู้คนพลุกพล่าน ติดถนน หรือติดกับพื้นที่ข้างเคียงที่ เป็นหอพักบางพื้นที่ของบ้านที่เป็น ห้อง Home Theatre


   ซึ่งอาจจะมีการใช้เสียงดังบ้าง พื้นที่นี้ก็ไม่ควรอยู่ใกล้กับด้านที่ ใกล้ชิด กับบ้านหลังอื่น ซึ่งจะทำให้รบกวนบ้านข้างเคียง และเป็นปัญหาตามมาได้ ดังนั้นการจะเลือกแบบบ้าน ก็ควรจะคำนึงถึงสภาพ แวดล้อม โดยรอบของที่ดินให้สัมพันธ์กันด้วย เนื่องจากว่าถ้าเลือก ได้ดีก็จะทำให้เราอยู่บ้านหลังนั้นได้อย่างมีความสุขสะดวกสบาย ไม่ต้องทะเลาะกับเพื่อนบ้าน พื้นที่ใดที่เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เราก็็จะอยู่ได้อย่างสงบเสงี่ยม พื้นที่ใดที่เราต้องการความเป็นส่วนตัว เราก็ไม่ต้องระแวงว่าจะมีใครมองอยู่หรือเปล่าและพื้นที่ใดที่เรา ต้องการดูหนัง ฟังเพลงที่อาจจะมีเสียงดังบ้าง เราก็ไม่ต้องกังวลว่า เสียงจะไป รบกวนใครบ้างหรือไม่

3. พิจารณาเรื่องลักษณะของที่ดินให้เหมาะสมกับที่ดิน

      การพิจารณาเกี่ยวกับระยะร่นของอาคาร มีผลต่อการเลือกแบบ บ้านให้เหมาะสมกับที่ดินเช่นกัน เนื่องจากตามกฎหมายนั้น กำหนด ให้ช่องเปิดหน้าต่างของบ้านทุกช่องนั้นต้องห่างจากแนว เขตที่ตาม กฎหมายไม่ต่ำกว่า 2.00 ม. ในกรณีที่เป็นบ้าน 2 ชั้น และไม่ต่ำกว่า 3.00 ม. ในกรณีที่บ้านของท่านมี 3 ชั้นขึ้นไป     ดังนั้นหลักง่ายๆ ในการเลือกแบบบ้านให้เหมาะสมกับที่ดินนั้นก็ คือ เลือกแบบบ้านให้มีความกว้าง ไม่มากกว่าความกว้างของที่ดิน หักด้วยระยะร่น 4.00 ม. (ในกรณีที่เป็นบ้าน 2 ชั้น) และในด้านลึก ก็ต้องเลือกแบบบ้านที่มีความลึกไม่มากว่าความลึกของที่ดิน หัก ด้วย ระยะ 4.00 ม. (ในกรณีที่เป็นบ้าน 2 ชั้น) เช่นกัน ยก ต.ย. เช่น หากท่านมีที่ดินขนาด 20 x 20 ม.ท่านควรจะเลือกแบบบ้านที่มี ขนาด 16.00 x 16.00 ม.ซึ่งก็คือการเผื่อระยะร่นในด้านละ 2.00 ม. ทั้งสี่ด้านนั้นเอง

      ซึ่งหากในขณะที่เลือกแบบบ้านแล้วพิจารณาให้ดีกับหัวข้อนี้ ด้วยก็จะทำให้บ้านที่ท่านสร้างถูกต้องตามกฎหมาย และไม่ต้องปรับ แก้แบบจากแบบมาตรฐานที่ท่านชอบมากนัก


4. พิจารณาเกี่ยวกับทิศทางลม และทิศทางแดด

      การพิจารณาเรื่องทิศทางลม ทิศทางแดด ในการวางตำแหน่งบ้าน ที่มีความสำคัญไม่น้อยเช่นกัน เนื่องจากว่าการเลือกแบบบ้าน และ การวางตำแหน่งอาคารลงบนที่ดิน หากพิจารณาให้รอบคอบ ก็จะทำ ให้บ้านของท่านมีความเย็นสบาย ไม่ร้อนอบอ้าว พึงพาเครื่องปรับ อากาศได้น้อยที่สุด และได้เปิดมุมมองสู่ภายนอกได้ดีที่สุด ประเด็นในการพิจารณาก็คือ ควรวางตัวอาคารด้านแคบไว้ตามแกน ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก เพื่อรับความร้อนจากแสงแดดใน ตอนสาย และตอนเย็นให้น้อยที่สุด พื้นที่ที่จะเป็นกระจกผืนใหญ่ เพื่อที่จะเปิดมุมมองสู่ทัศนียภาพให้มากที่สุดโดยที่ไม่รับความร้อนโดย ตรงจากแสงอาทิตย์คือด้านทิศเหนือ เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่ไม่ได้ รับแสงแดดจากด้วงอาทิตย์โดยตรง ดังนั้นพื้นที่ทิศเหนือจะเหมาะกับ ห้องพักผ่อน ห้องทานอาหาร ถ้าต้องการพื้นที่เฉลียงพักผ่อนภายนอก ที่ใช้ในการประกอบกิจกรรมในการพักผ่อนได้เกือบทั้งวัน ก็ต้องอยู่ใน ทิศเหนือ ซึ่งเป็นทิศที่ได้รับร่มเงาเกือบทั้งวัน ซึ่งต้องประกอบกับ การวางตำแหน่งต้นไม้ ในการจัดสวนด้วย ตำแหน่งของการวางห้องน้ำที่ดี ก็คือทิศที่ได้รับความร้อนจากแสงแดดโดยตรง เพื่อลดความชื้น สะสมภายในห้องน้ำ

5. พิจารณาเกี่ยวกับพฤติกรรมการอยู่อาศัยของ
สมาชิกในครอบครัว


      ข้อสุดท้ายเป็นการพิจารณาจากพฤติกรรมการใช้สอยของ สมาชิกในครอบครัว ซึ่งมีความแตกต่างกันแล้วแต่ครอบครัว เช่น บางครอบครัวมีพฤติกรรมที่มีการทำกิจกรรมร่วมกันในวันหยุด ทำ อาหารทานร่วมกัน หรือมีการสังสรรค์กับเพื่อนฝูง ก็อาจจะเลือก แบบบ้านที่มีครัวและพื้นที่เตรียมอาหารขนาดใหญ่ มีระเบียงพักผ่อน ภายนอกที่ต่อเนื่องกับสวน ส่วนบางครอบครัว ชอบที่จะดูหนัง ฟัง เพลงร่วมกันก็อาจจะต้องเลือกแบบบ้านที่มี ห้อง Home Theatre      ซึ่งประเด็นสุดท้ายนี้ผู้ที่ทราบดีก็คือผู้ที่สมาชิกในครอบครัวของ ท่านเอง ซึ่งต้องวิเคราะห์ดูว่าความจำเป็นที่แท้จริงคืออะไรบ้าง ซึ่งหากสร้างขึ้น มาแล้วไม่ได้ใช้ก็ไม่เกิดประโยชน์แถมต้องเป็น ภาระ ที่ต้อง ดูแบภายหลังอีกด้วย เช่น มีบ้านหลายหลัง มีการสร้าง บ่อน้ำ หรือบ่อปลา แต่ไม่สะดวกที่จะดูแล ทำให้มีการถมบ่อภาย หลัง ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น



รับสร้างบ้าน แบบบ้านสองชั้น
โทร 0-2542-2955-6, 0-2542-2691-2, 0-2542-2244
E-mail. info@sahasutha.com
สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน   บ.อะไลฟ์เฮ้าส์ จำกัด  STBUILDER
Copyright ? 2004 SAHASUTHA CO.,LTD. All right reserved.
WEB SITE by  www.eTradeForce.com

บริษัท สหสุธา เรารับสร้างบ้านใส่ใจทุกรายละเอียด

รับสร้างบ้าน | แบบบ้านสองชั้น