สาระน่า่รู้ เกี่ยวกับบ้าน รับสร้างบ้าน แบบบ้านสองชั้น  
   
   
   
   
 
 
 
 
 
 
   
 
 
 
บ้านหลังคาเขียว : Green Roof
SAHASUTHA : รับสร้างบ้าน, แบบบ้านสองชั้น

   ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีเกี่ยวกับเรื่องของการรณรงค์ลดการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ อันเป็นเหตุให้เกิดปรากฏการณ์ก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปลูกป่าทดแทน ลดการใช้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ โดยวัตถุประสงค์หลักของหลังคาเขียวนั้นคือ เพื่อลดอุณหภูมิความร้อนจากรังสีดวงอาทิตย์ ทำให้ภายในบ้านหรืออาคารสามารถรักษาความเย็นไว้ได้ดี ช่วยประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าและการใช้เครื่องปรับอากาศในตัวอาคาร

Green roofs แบบเก่าแก่บนเกาะ Faroe บริเวณ Atlantic Ocean ในเขตปกครองตนเองประเทศ Denmark



   หากท่านผู้อ่านพอนึกภาพความสวยงาม ความร่มรื่นของหมู่บ้านฮอบบิทในหนังเรื่อง The Lord of The Rings กันได้แล้ว ท่านคงพอสังเกตเห็นลักษณะการสร้างบ้านที่ถูกปกคลุมไปด้วยหญ้าบนหลังคา ซึ่งอันที่จริงแล้วเราสามารถพบเห็น “หลังคาเขียว” ได้ในหมู่บ้านเล็กๆทั่วไป แถบทวีปยุโรป เหตุผลส่วนใหญ่นั้นเกิดขึ้นคล้ายธรรมเนียมท้องถิ่น เช่นเดียวกับบ้านที่มุงด้วยใบจาก ในแถบเอเชียใต้ของเรา

Green roofs ใน Newfoundland แถบแคนาดาตะวันออกที่ได้ถูกสร้างอนุรักษ์ไว้จากต้นแบบ เดิมเป็นที่อยู่อาศัยของชาวไวกิ้ง

   โดยหลังคาเขียวนั้นมีความสำคัญลึกซึ้งต่อบ้านเรือนที่อยู่ใกล้ภูเขาไฟ เพราะสามารถดูดซึมฝุ่นผงเถ้าถ่าน และเป็นตัวกรองน้ำฝน ประการสำคัญคือชาวชนบทโบราณทราบดีว่า หลังคาเขียวนั้นช่วยรักษาอุณหภูมิของบ้านให้เย็นสบายพอเหมาะ ทั้งในตอนกลางวันและกลางคืน

Green roofs แบบเก่าแก่ในฟารม์ปศุสัตว์ เมือง Heidal ประเทศ Norway

ปัจจุบันหลังคาเขียวนั้นได้ถูกนำมาแยกความหมายได้ 2 แง่ คือ
1.Green roofs ในแง่ของเทคโนโลยีอาคาร หลังคาที่เป็นสีเขียวจากการมีพืชพันธุ์ปกคลมอยู่ข้างบน ไม่ว่าจะเป็นพืชพรรณคลุมดิน ไม้เลื้อย หรือลักษณะใดๆก็ตาม ซึ่งจะเน้นถึงการลดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยตรง นอกเหนือไปจากการสร้างสภาวะสบายและลดการใช้พลังงานของอาคาร

2. Green roofs ในแง่ของการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อการประหยัดพลังงาน โดยเน้นที่วัสดุก่อสร้างและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยลดอุณหภูมิ ลดการใช้พลังงาน สร้างสภาวะน่าสบาย ในรูปแบบของสถาปัตยกรรมสีเขียว เช่น แผง Solar Cell เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งตามการใช้สอยได้อีก 2 แบบคือ

    1.Intensive Green Roof (หลังคาเขียวที่มีประโยชน์ใช้สอย) คือ สามารถปลูกพืชทั้งชนิดเล็กและชนิดใหญ่ได้จริงๆ และทำกิจกรรมต่างๆได้ เช่น เป็นสวนหลังคา หรือ พื้นที่นันทนาการของอาคาร จึงจำเป็นต้องมีชั้นดินที่หนามากพอ อยู่ที่ราวๆ 30 เซนติเมตรขึ้นไป และต้องการดูแลรักษา รวมถึงค่าใช้จ่ายที่มากกว่า

    2.Extensive Green Roof (หลังคาเขียวที่ไม่ได้ใช้สอย) คือ หลังคาเขียวที่เน้นประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม เป็นหลังคาที่มีความหนาของดินเพียง 1-5 นิ้ว ใช้พืชพันธุ์ขนาดเล็ก เช่น หญ้า หรือพืชคลุมดินที่ไม่โต และไม่ต้องการดินมากนัก

ภาพ Green Roof Layers ที่มา www.livemusicss.com



โดยทั่วไป บ้านหลังคาเขียวไม่ได้มีประโยชน์เพียงแค่เป็นเปลือกอาคารที่ช่วยลดความร้อน เข้าสู่ตัวบ้าน หรืออาคารเท่านั้น แต่ยังสามารถลดปรากฏการณ์เกาะความร้อน (Urban Heat Island Effect) ได้อีกด้วย ซึ่งทำให้เกิดการแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ เพราะหลังคาเขียวจะทำหน้าที่เสมือนเป็นฉนวนกันความร้อนที่ส่งผ่านจากเปลือก อาคารในตอนกลางวัน ส่งผลให้สามารถลดพื้นที่การดูดซับความร้อนเอาไว้

ในขณะเดียวกันยังช่วยลดปริมาณน้ำฝนที่ไหลลงมาจากหลังคา ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาน้ำฝนท่วมฉับพลัน เนื่องจากหลังคาเขียวมีดินปลูกและชั้นรองรับหนาพอสมควร จึงสามารถอุ้มน้ำฝนในช่วงแรกๆของฝนที่ตกลงมาได้มาก เป็นการช่วยหน่วงเวลา รวมทั้งลดปริมาณน้ำฝนก่อนที่จะไหลลงบนพื้นถนนได้อีกทางหนึ่ง

นอกจากนี้พื้นที่หลังคาเขียวยังสามารถใช้เป็นพื้นที่ปลูกผักสวนครัวและ ดอกไม้ หรือใช้เป็นพื้นที่สวนขนาดเล็กไว้สำหรับพักผ่อนอยู่กับบ้านได้ ทั้งยังช่วยลดเสียงรบกวนและเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้แก่ชุมชนเมือง ซึ่งยังไม่รวมถึงประโยชน์อื่นๆ เช่น กรองมลพิษและสารโลหะหนักที่ผสมอยู่ในน้ำฝน ช่วยสร้างก๊าซออกซิเจนและดูดคาร์บอนไดออกไซด์ในเวลากลางวันได้อีกด้วย


สิ่งที่เป็นข้อจำกัดของบ้านหลังคาเขียวคือโครงสร้างของหลังคาบ้าน ซึ่งจะต้องแบกรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเพื่อรับน้ำหนักของวัสดุปลูกและพืช พันธุ์ ดังนั้นโครงสร้างบ้านของหลังคาเขียวจึงต้องมีความแข็งแรงมากกว่าบ้านทั่วไป จึงเกิดเป็นผลพลอยได้ที่ทำให้ได้หลังคาบ้านที่มีอายุการใช้งานที่นานขึ้น

นอกจากนี้พืชพันธุ์ที่นำมาปลูกนั้น ควรเป็นพันธุ์ที่ดูแลรักษาง่าย ไม่ทำลายโครงสร้างของบ้านเมื่อโตเต็มที่ อีกทั้งทนต่อการสูญเสียน้ำและทนต่อแดด เรื่องของความชื้นนั้นควรต้องพึงระวังเนื่องจากสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย เป็นลักษณะร้อนชื้น อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงการรั่วซึมของโครงสร้าง ตลอดจนการดูแลรักษาหลังคาเขียว เช่น การรดน้ำ เก็บกวาด ตกแต่ง หรือใส่ปุ๋ย เปลี่ยนดินที่เสื่อมคุณภาพ เป็นต้น

เชื่อได้ว่าบ้านหลังคาเขียวอาจต้องมีค่าใช้จ่ายมากกว่าบ้านทั่วไปประมาณสอง เท่า จากโครงสร้างของหลังคาที่ต้องเพิ่มความแข็งแรง และค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา เหล่านี้จึงเป็นข้อจำกัดในการทำบ้านหลังคาเขียว


ปัจจุบันมีความตื่นตัวต่อวิกฤตโลกร้อนเป็นอย่างมาก ทำให้บ้านหลังคาเขียวได้รับความสนใจมากพอสมควร โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ เนื่องจากบ้านหลังคาเขียวมีความเป็นรูปธรรมที่ได้ผลและสามารถทำได้ทันที ปัจจุบันมีการจัดตั้งองค์กรความร่วมมือระดับประเทศในการพัฒนาหลังคาเขียว เช่น SGRA (Scandinavian Green Roof Association) IGRA (International Green Roof Association) ในต่างประเทศมีบ้านหลังคาเขียวและอาคารหลังคาเขียวเป็นจำนวนมาก จนดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาไปเสียแล้ว

Ford Motor Company's River Rouge Plant ประเทศอเมริกา

   Ford Motor บริษัทยักษ์ใหญ่โรงงานประกอบรถยนต์ฐานผลิตที่ River Rouge
Plant นับว่า เป็นโครงการใหญ่ที่สุดของอเมริกาปี ค.ศ.2003 ในชื่อโครงการ Ford
Motor Company's River Rouge Plant

  พื้นที่ Green roofs ราว 454,000 ตารางฟุต ออกแบบโดยสถาปนิก ชื่อ William
McDonough และคณะ เป็นการออกแบบ ประเภท Extensive green roofs ซึ่งมี
น้ำหนักเบาเพียง 12 ปอนด์ต่อ 1 ตร.ฟุต ความลาดเอียงของหลังคา 1.5 องศา
ทั้งนี้เป็นเหตุผลต้องการชดเชย ความบกพร่องสภาพแวดล้อม อันเกิดจากระบบ
ของโรงงาน จากข้อแนะนำของ Michigan State University

Chicago City Hall ประเทศอเมริกา

Chicago City Hall ศาลาประชาคมเมืองชิคาโก เป็นโครงการจากแนวคิดของ
กองสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครชิคาโก เริ่มขึ้นในปี ค.ศ.2000 แล้วเสร็จปี ค.ศ.2001
พื้นที่ Green roofs ประมาณ 20,300 ตร.ฟุต ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน
ปีละ 200,000 บาท และยังเป็นที่หย่อนใจของประชาชน

Nanyang Technological University ประเทศสิงคโปร์

เมื่อ ค.ศ. 2008 ประเทศสิงคโปร์ สร้าง Marina Barrage (ระบบทำนบกั้นน้ำ)
กว้าง 350 เมตร เพื่อเป็นประตูเขื่อนในคลอง Marina สำหรับรับน้ำฝนเป็นแผนป้อง
กันอุทกภัยน้ำท่วมเมือง ควบคุมระดับน้ำจากเมืองและทะเล ซึ่งได้เปิดใช้แล้วโดย
บริเวณนั้นจัดทำ Green roofs พื้นที่ขนาดใหญ่ สำหรับด้านสันทนาการด้วยและ
ในคลองเมื่อมีประตูทำนบแล้ว ได้ใช้เป็นพื้นที่แข่งกีฬาทางน้ำได้อย่างเหมาะเจาะ

California Academy of Sciences ประเทศอเมริกา

California Academy of Sciences เริ่มในปี ค.ศ. 2007 ใช้ชื่อโครงการว่า
California Academy of Sciences, The Osher Living Roof ตั้งอยู่ที่ San
Francisco พื้นที่ Green roofs ประมาณ 197,000 ตร.ฟุต โดยมีระบบพลังงานแสง
อาทิตย์ สามารถผลิตได้ 213,000 kilowatt-hours ทั้งหมดจึงเป็นการลดก๊าซ
คาร์บอนไดออกไซด์ได้ปีละ 405,000 ปอนด์


ปัจจุบันในบ้านเราก็เริ่มมีอาคารที่นำเอาหลัก green roof มาใช้บ้างแล้วเหมือนกัน เช่น
การ์เด้นคลิฟ คอนโดมิเนียมพัทยา, โครงการคอนโดมิเนียม Bangkok Garden, อาคารตรีทศ มารีนา เป็นต้น

หลังคาเขียวอาคารชุดพักผ่อนการ์เดนคลิฟ 2 พัทยา พ.ศ. 2524


สวนหลังคาอาคารชุดพักอาศัยอาคารตรีทศมารีนา ธนบุรี กรุงเทพฯ พ.ศ. 2536



อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างโดยใช้หลัก green roof ในบ้านเรานั้น หากจะทำให้เหมือนต่างประเทศก็คงลำบากสักหน่อย เนื่องจากเมืองไทยเราอยู่ในเขตมรสุมเมืองร้อน ฝนตกเยอะ อาจต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูง แต่ที่จะทำได้ง่ายหรือทำได้เลยนั่นคือ ตามดาดฟ้าของอาคารต่างๆ หรือตามระเบียงที่ยื่นออกไปนอกบ้าน ลองปลูกพืชคลุมดินชนิดที่ไม่ต้องใช้ดินมากนัก ดูแลง่าย หรือจะใช้เป็นสวนกระถาง หรือทำระแนงสวยๆให้ไม้เลื้อย ก็สวยงามได้ร่มเงา ช่วยสร้างออกซิเจนและรักษ์โลกได้บ้างเหมือนกัน



แหล่งข้อมูลอ้างอิง

http://www.greennetworkthailand.com/system/?p=163
http://www.vcharkarn.com/varticle/39306
http://pack.exteen.com/20090207/green-roof
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=travelaround&date=03-02-2008&group=16&gblog=23
http://sunflowercosmos.org/climate_change/climate_change_home/greenroof_1.html
http://goodtimebkk.multiply.com/journal/item/13
http://www.greenroofs.com/
http://www.greenroof.co.uk/

ชมรมศิษย์เก่านวัตกรรมอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
http://www.abit-ku.com/index.php?mo=3&art=325988

 

 




รับสร้างบ้าน แบบบ้านสองชั้น
โทร 0-2542-2955-6, 0-2542-2691-2, 0-2542-2244
E-mail. info@sahasutha.com
สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน   บ.อะไลฟ์เฮ้าส์ จำกัด  STBUILDER
Copyright ? 2004 SAHASUTHA CO.,LTD. All right reserved.
WEB SITE by  www.eTradeForce.com

บริษัท สหสุธา เรารับสร้างบ้านใส่ใจทุกรายละเอียด

รับสร้างบ้าน | แบบบ้านสองชั้น