สาระน่า่รู้ เกี่ยวกับบ้าน รับสร้างบ้าน แบบบ้านสองชั้น  
   
   
   
   
 
 
 
 
 
 
   
 
 
 
บัญญัติ ๒๒ ประการ “บ้านหลังน้ำท่วม” โดย อ.ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ (4)
SAHASUTHA : รับสร้างบ้าน, แบบบ้านสองชั้น
17. มีน้ำผุดขึ้นกลางบ้าน แปลว่าอะไร ไม่เห็นสนุกเลย

หากเป็นผมก็คงจะไม่สนุกเหมือนกันละครับ เพราะอยู่ดีๆ ก็มีน้ำผุดขึ้นมากลางบ้าน ปัญหาที่คาดการณ์ (เพราะไม่ได้เห็นสถานที่จริง) น่าจะเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
1.
ระบบโครงสร้างเกิดอาการแตกร้าว ซึ่งอาจจะแตกร้าวอยู่เดิมแล้ว หรืออาจจะเกิดการแตกร้าวจากแรงดันน้ำอันเนื่องมาจากน้ำท่วม การแก้ไขก็คือพยายามหาแนวที่แตกร้าวนั้นให้พบ (ส่วนใหญ่จะเป็นรอยแตกที่พื้นหรือผนังส่วนล่าง) แล้วพยายามติดต่อสอบถามผู้รู้ต่อไปอย่าพยายามซ่อมเอง เพราะอาจยิ่งเกิดปัญหาและอาจเป็นอันตรายได้
2.
รั่วเนื่องจากรอยต่อของพื้นกับผนังไม่สนิท หรือระหว่างพื้นกับพื้นไม่สนิทกัน อาจเพราะระบบ โครงสร้างอาคารเป็นโครงสร้างระบบพื้นสำเร็จที่ก่อสร้างไว้ไม่เรียบร้อย

หรือเพราะเป็นระบบโครงสร้างเป็นระบบพื้นวางถ่ายน้ำหนักบนดิน (Slab on Ground) ซึ่งออกแบบให้เนื้อคอนกรีตพื้นไม่ต้องเชื่อมประสานกับคาน แต่ให้ถ่ายน้ำหนักพื้นลงไปที่แผ่นดินเลย โครงสร้างระบบที่ว่านี้จึงอาจมีรอยรั่วตรงบริเวณรอยต่อ เพราะปูนทรายที่อุดไว้เสื่อมสภาพหรือเสียหายจากแรงดันน้ำ

แนวทางแก้ไข คงต้องพยายามหาแนวที่น้ำรั่วเข้าให้ได้ (จะมีรอยหรือเส้นที่มีสีเข้มกว่าปกติ) แล้วอุดรอยเหล่านั้นให้เรียบร้อยอาจจะด้วยซิลิโคนที่ยาตู้ปลาก็พอไหว
3.
เกิดจากรูที่บริษัทกำจัดปลวกเขาเจาะเอาไว้ ตอนที่จะฉีดอัดน้ำยากำจัดปลวก แล้วไม่มีการอุดปิดให้เรียบร้อย แนวทางการแก้ไข ก็คือจัดการอุดเสียให้เรียบร้อย
4.
ท่อน้ำที่ฝังในพื้นเกิดการรั่วแตก หมายถึงที่พื้นห้องอาจจะมีการฝังท่อน้ำเอาไว้ และอาจมีการขยับตัวของโครงสร้างทำให้ท่อแตก และแรงดันน้ำทำให้เกิดน้ำพุเล็กๆเกิดขึ้นที่พื้นห้องครับ

กรุณาอย่าตกใจกับสิ่งที่เกิดนี้ พยายามหาเหตุให้พบแล้วแก้ไขเสีย หากยังหาเหตุไม่พบหรือหาพบแล้วแต่แก้ไขไม่ได้ กรุณาติดต่อผู้รู้ ( ผู้รู้แปลว่าผู้รู้ ไม่ได้แปลว่า ผู้ไม่ค่อยรู้แต่ช่างพูด)
18. เฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ เตียง เก้าอี้ หลังน้ำท่วม

ขอให้คิดเสมือนว่าเฟอร์นิเจอร์นั้นเป็นเครื่องใช้ เป็นพื้นบ้านและเป็นผนังบ้านอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนั้น การแก้ไขเฟอร์นิเจอร์หลังน้ำท่วม ก็คงจะคล้ายกับการแก้ปัญหาเรื่องประตูหน้าต่าง เครื่องไม้ เครื่องมือ พื้นบ้าน ฝ้าเพดานบ้าน และผนังบ้านปนๆกันไป สรุปข้อคิดและแนวทางการแก้ไขไว้ดังต่อไปนี้
1.
พยายามเอาความชื้นออกจากเฟอร์นิเจอร์ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้อย่างรวดเร็ว
2.
เฟอร์นิเจอร์ที่อมน้ำมากๆเช่น โซฟานวมหรือนุ่น ที่นอนหากไม่จำเป็นอย่าเอากลับมาใช้อีกเลย เพราะตอนน้ำท่วมจะพาเชื้อโรคและสิ่งไม่พึงประสงค์เข้าไปอยู่ภายในไม่น้อย แม้ตากแดดแห้งแล้ว เชื้อโรคร้าย ก็อาจยังคงอยู่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาวได้
3.
เฟอร์นิเจอร์ประเภทติดกับที่ (Built In Furniture) ขอให้แก้ปัญหาเหมือนผนังและประตู คือต้อง ตรวจสอบความแข็งแรงของโครงสร้าง สายไฟที่อาจจะฝังอยู่ในตู้ รูกุญแจและลูกบิด ทำการบำรุงรักษา ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยเหมือนเดิมหรือใกล้เคียงของเดิม
4.
เฟอร์นิเจอร์ที่ทำด้วยไม้ ไม่ควรเอาไปตากแดดโดยตรง เพราะจะทำให้แตกเสียหายได้ อีกทั้งยามจะทาสีทับลงไป ก็ขอให้มั่นใจว่าเขาแห้งแล้วจริงๆ ไม่เช่นนั้นสีจะลอกหมด ความชื้นจะฝังใน
19. น้ำท่วมช่องลิฟต์ ห้องเครื่อง หม้อแปลงไฟฟ้า

น้ำท่วมลิฟต์ ห้องเครื่อง หม้อแปลงไฟฟ้า หรือส่วนที่เป็นเครื่องกลสำคัญต่างๆของอาคาร กรุณาอย่าซ่อมแซมเอง ให้เรียกบริษัทหรือช่างผู้รู้จริงมาตรวจสอบ และแก้ไขเสีย จะต้องเสียงบประมาณเท่าไรก็ต้องยอมนะครับ ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ และห้ามประมาทเด็ดขาดนะครับ
20. อยากยกบ้านทั้งบ้านให้สูงขึ้น ทำยังไง อย่างไร เท่าไร

การยกบ้านให้สูงขึ้น หมายถึง การยกตัวโครงสร้างทั้งหมดของบ้านให้มีระดับหนีน้ำท่วมบ้าน เป็นสิ่งที่น่า สนใจ แต่ขณะเดียวกันก็เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงหากจะทำเองถ้าบ้านของท่านไม่ใช่บ้านไม้ และไม่ใช่บ้านที่มีน้ำหนักเบา เพราะหากเป็นบ้านที่ทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก (ภาษาชาวบ้านเรียกว่าบ้านปูน) โครงสร้างของบ้านจะยึดติดเป็นเนื้อเดียวกัน หากยกบ้านขึ้น (ส่วนใหญ่จะด้วยแม่แรง แบบการยกรถยนต์) ตัวบ้านเอียงหรือบิดเพียงนิดเดียว บ้านก็จะแตกร้าวเสียหายวิบัติได้

นอกจากนั้นบ้านปูนจะมีน้ำหนักมาก ทำให้ต้องมีเสาเข็มยาวๆมารับน้ำหนักบ้าน เสาเข็มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเสาเข็มปูนที่มีเหล็กเส้นผูกติดยึดไว้กับตัวฐานราก เมื่อยกตัวบ้านขึ้นก็เป็นเพียงการยกแต่ตัวบ้าน ไม่สามารถยกเสาเข็มขึ้นมาด้วย การต่อฐานรากกับเสาเข็มใหม่จึงเป็นเรื่องยาก ในอนาคตอาจมีปัญหาเรื่องบ้านทรุดบ้านร้าวได้

นอกจากเรื่องโครงสร้างแล้ว เมื่อยกบ้านปัญหาพวกสายไฟ ท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ ก็จะเป็นปัญหาที่ต่อเนื่องตามมา ที่จะต้องตัดออกทั้งหมดแล้วต่อใหม่เข้าไป เมื่อยกระดับบ้านเสร็จเรียบร้อย หากท่อเหล่านี้อยู่ใต้พื้นบ้านบริเวณกลางๆบ้าน ย่อมจะตัดออกจากกันตอนจะยกบ้านได้ยาก หากตัดไม่หมดแล้วยกขึ้น ก็อาจไปดึงโครงสร้างของบ้านส่วนอื่นๆเสียหายได้

การต้องการจะยกระดับบ้านทั้งหลังขึ้นมา (บ้านปูน) เป็นเรื่องที่ต้องปรึกษาผู้รู้จริง และมีประสบการณ์เท่านั้น และส่วนผู้รับเหมาก่อสร้างก็ต้องเป็นผู้รู้จริงด้วย มิเช่นนั้นท่านอาจจะเสียบ้านไปทั้งหลัง ส่วนราคาค่ายกบ้านก็แล้วแต่ระดับที่ยกขึ้น แล้วแต่ขนาดของตัวบ้าน แล้วแต่ลักษณะของตัวบ้าน โดยทั่วไปราคาจะประมาณ 20% ถึง 400% ของราคาตัวบ้าน

ส่วนบ้านไม้นั้น หากใช้เทคนิคไทยเดิมของเรา ผสมผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ไม่ใช่เป็นเรื่องยากนัก(บ้านไม้ แปลว่า ทั้งโครงสร้าง และองค์ประกอบเป็นไม้ ไม่ใช่โครงสร้างเป็นปูน มีเพียงผนัง หรือพื้น เป็นไม้เท่านั้น)
21. ฝ่าวิกฤติด้วยความคิดบวก

ความคิดบวกหรือ Positive Thinking ฟังเสมือนกับเป็นลัทธิแก้อย่างหนึ่ง แต่ความจริงแล้วการมองภายในตนให้ครบถ้วนทุกด้าน แล้วเอาด้านที่เป็นบวกมาพิจารณาเป็นประเด็นในการจัดการปัญหา ชีวิตเราก็จะมีความสุขขึ้นไปพร้อมๆกับผู้รอบข้าง และ สังคมที่เราอยู่ร่วมนั้น

การแก้ปัญหาทั้งหลายย่อมไม่มี “สูตรสำเร็จ” เป็นธรรมดา....
บางทีเมื่อแก้ปัญหาด้วยการ “คิด” ไม่ได้.... ลองใช้การแก้ปัญหาด้วยการ “ยั้งคิด” บ้าง
บางทีการแก้ปัญหาด้วย “ความรู้” ไม่ได้.... ลองใช้ “ความรู้สึก” ในการแก้ปัญหาบ้าง
บางทีเราต้องไม่มองเฉพาะผล “ด้านนอก” แต่เราต้องเข้าใจปัญหาจาก “ภายใน” บ้าง
พลังแห่งการฝ่าวิกฤติทั้งหลายอาจจะอยู่ตรงนั้นก็ได้

หากเราฝึกตนให้เป็น “คนกล้า” ที่มิใช่ลืมตัวกลายเป็นคน “บ้าบิ่น” แก้ปัญหาตามอารมณ์
โดยเราแยกความแตกต่างของ “ความรัก” และ “ความหลง” ได้ชัดเจนเพียงพอ
โดยเรารอบรู้และเข้าใจทั้ง “วิชาการ” และ “มนุษย์” ได้อย่างสมดุล
เราจะหา “ข้อมูล” เพื่อการ “วิเคราะห์” อันนำมาซึ่ง “บทสรุป” เพื่อการปฏิบัติทั้งหลายได้
พลังแห่งการฝ่าวิกฤติทั้งหลายอาจจะอยู่ตรงนั้นก็ได้

เราต้องไม่เป็นผู้ที่ “รู้มาก แล้ว คิดน้อย” หรือเป็นผู้ที่ “รู้น้อย แล้ว คิดมาก”
เราน่าจะเป็นผู้ที่ “รู้น้อย ก็รู้ให้มากขึ้น เมื่อรู้มากพอแล้ว ก็อย่าลืมคิดให้มากขึ้น” ตามไปด้วย
หากคิดมากขึ้นแล้ว ยังแก้ปัญหาไม่ได้..... ลอง “ยั้งคิด” ดูสักหน่อย
พลังแห่งการฝ่าวิกฤติทั้งหลายอาจจะอยู่ตรงนั้นก็ได้
<<< กลับไป ตอนที่ 3 อ่านต่อ ตอนที่ 5 >>>
สามารถดาวน์โหลดบัญญัติ 22 ประการ "บ้านหลังน้ำท่วม" ในรูปแบบ PDF ได้ ที่นี่



รับสร้างบ้าน แบบบ้านสองชั้น
โทร 0-2542-2955-6, 0-2542-2691-2, 0-2542-2244
E-mail. info@sahasutha.com
สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน   บ.อะไลฟ์เฮ้าส์ จำกัด  STBUILDER
Copyright ? 2004 SAHASUTHA CO.,LTD. All right reserved.
WEB SITE by  www.eTradeForce.com

บริษัท สหสุธา เรารับสร้างบ้านใส่ใจทุกรายละเอียด

รับสร้างบ้าน | แบบบ้านสองชั้น